วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กิจกรรม3

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งตัวอย่างประกอบในแต่ละประเภท

โครงงานคอมพิวเตอร์
     หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
         
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
         
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
         
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
 
     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น
 
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
         
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

กิจกรรมที่2

โครงงานคอมพิวเตอร์

http://jirawatmeeboonyrc.blogspot.com/2015/08/1.html

ความหมายโครงงานคอมพิวเตอร์ 
     หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ความสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ
ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
  1. การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
  2.  การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
  3. การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
  4. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครง งานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
  5. การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
ขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์
กกกกกกกกดำเนินงานโดยนักเรียน เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ และครูอาจารย์ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1.  เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2.  นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3.  นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4.  นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5.  เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

กิจกรรมที่ 4

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
          1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
          4. การลงมือทำโครงงาน
          5. การเขียนรายงาน
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้ 
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย 

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
          1. จะทำ อะไร
          2. ทำไมต้องทำ
          3. ต้องการให้เกิดอะไร
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร 
3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน 
รายงานรายละเอียดที่ต้องระบุ
ชื่อโครงงานทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
ประเภทโครงงานวิเคราะห์จากลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้
ชื่อผู้จัดทำโครงงานผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
ครูที่ปรึกษาโครงงานครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน
ครูที่ปรึกษาร่วมครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วม ให้คำแนะนำในการทำโครงงานของนัีกเรียน
ระยะเวลาดำเนินงานระยะเวลาการดำเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด กำหนดเป็นวัน หรือ เดือนก็ได้
แนวคิด ที่มา และความสำคัญสภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
วัตถุประสงค์สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต
หลักการและทฤษฎี  หลักการและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
วิธีดำเนินงาน กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และผู้ัรับผิดชอบ
ขั้นตอนการปฏิบัติ  วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
เอกสารอ้างอิงสื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน

 4. การลงมือทำโครงงาน
          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
     4.1 การเตรียมการ
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
     4.2 การลงมือพัฒนา
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน 
     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย 
     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้  
5. การเขียนรายงาน
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     5.1 ส่วนนำ
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     5.2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     5.3 หลักการและทฤษฎี
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย 
     5.4 วิธีดำเนินการ
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน  
     5.5 ผลการศึกษา
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก  
     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย  
     5.7 ประโยชน์
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย  
     5.8 บรรณานุกรม
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย  
     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ   
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน

วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กิจกรรมที่ 1


 ระบบ TCAS




รายละเอียดการคัดเลือกทั้ง 5 รอบของ TCAS!


แบ่งเป็น 5 รอบด้วยกัน คือ
  • รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 
      • ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560
        • ประกาศผล : 22 ธันวาคม 2560
      • ครั้งที่ 2 : 22 ธันวาคม 2560 – 28 กุมภาพันธ์ 2561
        • ประกาศผล : 26 มีนาคม 2561
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนโควตา, นักเรียนเครือข่าย
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
  • รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ธันวาคม 2560 – มีนาคม 2561
      • ประกาศผล : 8 พฤษภาคม 2561
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค, นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
  • รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 9 – 13 พฤษภาคม 2561
      • ประกาศผล : 8 มิถุนายน 2561
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) โดยที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด
    • ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลผู้สมัครไปให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประมวลคัดเลือก
  • รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 6 – 10 มิถุนายน 2561
      • ประกาศผล : 13 กรฎาคม 2561
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนแอดมิชชั่นในปีที่ผ่านมา) แต่ใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักที่ประกาศล่วงหน้า 3 ปี
    • ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย)
  • รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
    • สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง


___________________________________________________


คลังข้อสอบ

รวมข้อสอบ PAT1 


  • PAT1 มี.ค.58


  • PAT1ต.ค. 58



  • PAT1 มี.ค.59








รวมข้อสอบ GAT English



รวมข้อสอบ 9วิชาสามัญ 55-59


________________________________________________________________________________

แอพพิเคชั่นทดลองสอบ

บริษัท Sobtid edutainment จำกัด บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดทำแอพพลิเคชั่น “สอบติด”แอพฯแรก และ แอพฯเดียว ของไทย ที่สามารถ ให้น้องๆที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับ มัธยมศึกษา ได้ทดสอบทำข้อสอบ Gat /Pat  Onet 9 วิชาสามัญ ก่อนและได้ทราบผลทันที





แอพพลิเคชั่น “สอบติด” แอพฯนี้คือการต่อยอดจากธุรกิจเดิมของครบครัวสำนักพิมพ์ ภูมิบัณฑิต สำนักพิมพ์ที่เชี่ยวชาญ ด้านคู่มือเรียนวิชาเสริมพิเศษเพื่อเด็กประถมและมัธยม มากกว่า 40 ปีของไทย เล็งเห็นว่าธุรกิจต้องปรับตัวพร้อมให้ทันต่อโลกในปัจจุบัน และอนาคต จึงได้เกิดแนวคิด การเข้าสู่ Application content จนมาเป็น แอพฯแรก และ แอพฯเดียวของไทย ที่สามารถให้น้องๆที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ได้ทดสอบทำข้อสอบ Gat /Pat, Onet และ9 วิชาสามัญก่อน และได้ทราบผลพร้อมรู้ว่าตัวเองบกพร่องด้านไหน หรือตัวเองมีจุดแข็งด้านไหน
เพราะ แอพพลิเคชั่น “สอบติด” นี้ จะคำนวณและวิเคราะห์จุดอ่อน แก้ไขจุดด้อยพร้อมผลคะแนนในแต่ละวิชาออกมาให้ทันที ซึ่งหลังได้เปิดให้ได้ลองใช้มาสองเดือนมียอดดาวน์โหลดกว่า 20,000 คนแล้ว
ในตอนนี้ก็ทางทีมพัฒนาก็กำลังทำ Application content ใหม่เพื่อรองรับกลุ่มประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยอนาคตอันใกล้นี้ ก็จะได้เปิดให้ใช้เช่นกัน

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 5



วิธีการล้างแผลแบบถูกวิธี



 1. เมื่อมีเลือดออก
   เลือดเป็นสิ่งที่ช่วยทำความสะอาดแผลเบื้องต้น การมีเลือดออกจากแผลเล็กน้อยจึงถือเป็นสิ่งที่ดี


2. ล้างแผลให้สะอาด


          ด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อ หรือน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.9% สำหรับล้างแผลโดยตรง เพราะการล้างแผลด้วยน้ำเกลือจะไม่ทำให้รู้สึกแสบแผล อีกทั้งการล้างแผลด้วยน้ำเกลือยังช่วยชะล้างสิ่งสกปรกและเชื้อโรคออกจากแผลได้ ลดการติดเชื้อ ที่สำคัญยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นอีกต่างหาก


3. เลือกยาใส่แผลให้เหมาะสม
   

          แผลที่เสี่ยงติดเชื้อ หรือแผลเปิด เช่น แผลมีดบาด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกแทง แผลฉีกกระชาก และแผลตัดขาด อาจใช้ยาฆ่าเชื้อภายนอก (Topical Antiseptic) เช่น โพวิโดน-ไอโอดีน ทาแผลเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ


4. พันแผลด้วยพลาสเตอร์ยาหรือผ้าพันแผล
   

          การปิดแผลจะช่วยลดโอกาสที่เชื้อโรคจากภายนอกจะเข้าสู่บาดแผล โดยเฉพาะหากแผลนั้น ๆ มีโอกาสเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือรองเท้าโดยตรง ซึ่งการปิดแผลที่ดีก็ควรเปลี่ยนพลาสเตอร์หรือผ้าพันแผลทุกวัน รวมทั้งก่อนปิดแผลก็ควรล้างแผลและใส่ยารักษาแผลก่อนด้วยนะคะ


          อย่างไรก็ดี สำหรับแผลที่ค่อนข้างลึก ใหญ่ และบาดเจ็บอย่างรุนแรง หรือเป็นแผลบริเวณใกล้ดวงตา แผลเปิดกว้าง แผลเกิดจากของขึ้นสนิม หรือโดนสัตว์กัด เลือดไหลไม่หยุดยาวนานประมาณ 5-10 นาที หรือแม้แต่แผลเล็ก ๆ แต่มีอาการปวดแผล แผลบวมแดง มีน้ำหนอง หรือมีอาการไข้ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าบาดแผลอาจเกิดการอักเสบ และควรพาตัวเองไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นอีกครั้งด้วยนะคะ

ความจริงเกี่ยวกับการล้างแผลที่ถูกต้อง

   

  5 ความจริงเกี่ยวกับการล้างแผลดังนี้


1. ทำไมควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือ
   

          น้ำเกลือปราศจากเชื้อสำหรับล้างแผลโดยตรง อย่างน้ำเกลือ Saline Kare เป็นน้ำเกลือที่มีตัวยาโซเดียม คลอไรด์ 0.9% โดยความเข้มข้นของน้ำเกลือชนิดนี้ จะมีความสมดุลกับเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงไม่ทำให้รู้สึกแสบ อีกทั้งการล้างแผลด้วยน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.9% ยังสามารถชำระความสกปรกและเชื้อโรคออกจากแผลได้อย่างสะอาด ปราศจากการระคายเคือง ลดโอกาสติดเชื้อ และทำให้แผลหายเร็วขึ้นอย่างที่บอกไปในช่วงแรก

   

          ดังนั้นหากเคยไปล้างแผลที่โรงพยาบาลมาบ้าง ก็จะเห็นได้เลยว่าพยาบาลและแพทย์จะใช้น้ำเกลือล้างแผลให้เราตลอดยังไงล่ะคะ


2. ทำไมใช้น้ำเกลือล้างแผลถึงไม่แสบ
   

          ตัวยาโซเดียมคลอไรด์ 0.9% ที่มีอยู่ในน้ำเกลือ เป็นสารละลายที่มีความสมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย จึงไม่ทำให้รู้สึกแสบเมื่อล้างแผลด้วยน้ำเกลือ


3. น้ำเกลือต่างกับน้ำทะเลอย่างไร
   

          น้ำทะเลจะประกอบไปด้วยธาตุ และส่วนประกอบไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความเข้มข้นกว่าน้ำในเซลล์ร่างกาย จึงอาจทำลายความสมดุลของน้ำในเซลล์เนื้อเยื่อ เป็นเหตุให้รู้สึกแสบแผลเมื่อโดนน้ำทะเลได้

   

          ส่วนน้ำเกลือปราศจากเชื้อสำหรับล้างแผล มีส่วนประกอบที่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกายอยู่แล้ว จึงไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแผลนั่นเอง


4. ใช้น้ำประปาล้างแผลได้หรือไม่
   

          น้ำประปาเป็นสารละลาย Hypotonic มีความเข้มข้นต่ำกว่าน้ำในเซลล์ร่างกาย จึงอาจทำลายเซลล์เม็ดเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อสร้างใหม่ รบกวนการสมานแผล ทำให้รู้สึกแสบแผล และอาจทำให้แผลหายช้าลง


5. ใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลได้หรือไม่
   

          เชื่อไหมคะว่าเราอาจใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลแบบผิด ๆ มาทั้งชีวิต เพราะที่จริงแล้วแอลกอฮอล์เป็นยาฆ่าเชื้อเฉพาะที่ สำหรับเช็ดผิวหนังรอบแผลก่อนผ่าตัดหรือก่อนฉีดยาเท่านั้น เพื่อลดโอกาสที่เชื้อโรครอบปากแผลจะเข้าสู่แผลได้ นอกจากนี้เรายังไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลเปิดให้แสบฟรี ๆ อย่างยิ่ง เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดเนื้อตาย อาจรู้สึกระคายเคืองและแสบร้อนแผล และทำให้แผลหายช้า เห็นได้ชัดเลยว่า น้ำเกลือเป็นน้ำยาล้างแผลที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกข้อจริง ๆ แต่ทั้งนี้ก็ควรเลือกใช้น้ำเกลือที่ถูกวัตถุประสงค์ของการล้างแผลด้วยนะคะ โดยอาจเลือกใช้น้ำเกลือล้างแผลด้วยข้อสังเกตข้างล่างนี้





ควรเลือกน้ำเกลือแแบบไหนมาล้างแผล



น้ำเกลือล้างแผล

          น้ำเกลือล้างแผลมีขายอยู่หลายยี่ห้อพอสมควร หลายคนเลยเกิดคำถามว่า แล้วเราควรเลือกน้ำเกลือล้างแผลแบบไหนมาใช้ดีล่ะ ขออนุญาตตอบข้อข้องใจตรงนี้ชัด ๆ ว่า ควรเลือกซื้อน้ำเกลือล้างแผลชนิดที่ปราศจากเชื้อ เช็กว่ามีความเข้นข้นของตัวยาโซเดียม คลอไรด์ 0.9% ไหม รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ก็ควรมีฝาปิดมิดชิด ใช้งานสะดวก เก็บรักษาได้ง่าย ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนในน้ำเกลือ อย่างน้ำเกลือซาไลน์แคร์ (Saline Kare) เป็นต้น ซึ่งมีข้อแตกต่างจากน้ำเกลือล้างแผลอื่น ๆ ตามนี้
1. น้ำเกลือล้างแผลซาไลน์แคร์ไม่ทำให้แสบแผล
   

          นอกจากจะช่วยทำความสะอาดแผลและลดการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว น้ำเกลือซาไลน์แคร์ยังมีความเข้มข้นของตัวยาโซเดียม คลอไรด์อยู่ที่ 0.9% ซึ่งมีความสมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย จึงไม่ทำให้รู้สึกแสบแผลเลยสักนิด


2. น้ำเกลือซาไลน์ เป็นน้ำเกลือปราศจากเชื้อ
   

          น้ำเกลือซาไลน์แคร์ เป็นน้ำเกลือปราศจากเชื้อที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ดังนั้นเมื่อเปิดขวดใช้แล้วควรใช้น้ำเกลือให้หมดภายใน 30 วัน


3. บรรจุภัณฑ์ดีไซน์มาตอบโจทย์
   

          ผลิตภัณฑ์ซาไลน์แคร์อยู่ในรูปขวดปลายแหลม มีระบบการเปิด-ปิดฝาที่ป้องกันการปนเปื้อนระหว่างการใช้ ทำให้ปลอดภัยต่อเชื้อโรค อีกทั้งขวดปลายแหลมยังช่วยให้มีแรงฉีดสำหรับชะล้างสิ่งสกปรกออกจากบาดแผลได้สะอาด โดยไม่ต้องใช้ผ้าก็อซหรือสำลีถูบริเวณแผลให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและอาการบาดเจ็บ เช่น ปากแผลเปิดกว้างมากขึ้น เป็นต้น


4. ปริมาณน้ำเกลือพอเหมาะกับการใช้งาน
   

          ขวดน้ำเกลือซาไลน์แคร์มีอยู่ขนาดเดียว คือ น้ำเกลือล้างแผลซาไลน์แคร์ขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร ด้วยเหตุผลที่ว่า น้ำยาล้างแผลควรฉีดล้างด้วยปริมาณน้ำเกลือพอสมควร ให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากบาดแผลให้หมด และเพื่อให้น้ำเกลือพอดีกับการล้างแผลมากที่สุด ไม่ต้องเหลือน้ำเกลือทิ้งไปให้น่าเสียดาย


5. หาซื้อง่าย ใช้สะดวก
   

          น้ำเกลือซาไลน์แคร์สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าสะดวกซื้อ (7-Eleven) และร้านขายยาชั้นนำทั่วไป

    










การปฐมพยาบาล

ประเภทของบาดแผล
บาดแผล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
• บาดแผลสะอาด หมายถึง บาดแผลที่เกิดขึ้นแต่ไม่มีการติดเชื้อโรค ลักษณะเนื้อเยื่อบริเวณแผลจะมีสีชมพูอมแดง ไม่พบลักษณะของการอักเสบบวมแดง

• บาดแผลติดเชื้อ หมายถึง บาดแผลที่มีการติดเชื้อโรคร่วมด้วย ลักษณะแผลจะแสดงถึงการอักเสบ ได้แก่ อาการปวด บวม แดง ร้อน ภายหลังจะพบหนองบริเวณบาดแผล

คุณสมบัติของแผ่นปิดบาดแผลที่ดี
ลักษณะของแผ่นปิดบาดแผลที่ดีควรป้องกันบาดแผลจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม สามารถดูดซึมน้ำเหลืองที่ออกมาจากบาดแผลได้ดี ป้องกันการเสียความร้อนและความชื้นจากบาดแผล เพื่อทำให้เกิดการสมานแผล และแผ่นปิดบาดแผลที่ดีไม่ควรเหนียวติดบาดแผลง่าย ตัวอย่างแผ่นปิดแผลชนิดต่างๆ เช่น
• ผ้าก็อซปิดแผลแบบธรรมดา
คุณสมบัติของผ้าก็อซจะทำหน้าที่ดูดซับน้ำเหลืองจากบาดแผล ถ้าหากบาดแผลนั้นมีน้ำเหลืองไหลออกมามาก อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าก็อซบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อด้อยของการใช้ผ้าก็อซในการปิดแผล นอกจากนั้นผ้าก็อซอาจจะติดแน่นกับแผล ส่งผลให้เจ็บเวลาดึงผ้าก็อซออกและยากแก่การทำแผลในครั้งถัดไป

Medicate paraffin gauze
เป็นผ้าก็อซสังเคราะห์ที่มีการเพิ่มการเคลือบพาราฟิน โดยสามารถดูดซับของเหลวได้ดี จุดเด่นที่สำคัญ คือ ผ้าก็อซชนิดนี้ไม่ติดกับแผล ทำให้ลดปัญหาเมื่อต้องเปลี่ยนแผ่นปิดแผลบางชนิดอาจมีการผสมตัวยา antiseptics ลงไปด้วย เพื่อช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อโรค และป้องกันการติดเชื้อ ข้อด้อยของแผ่นปิดแผลประเภทนี้คือไม่เหมาะสมในกรณีที่บาดแผลเปิดเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากรูตาข่ายของแผ่นปิดแผลค่อนข้างใหญ่

• พลาสเตอร์ฟิล์มใส
ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ยืดหยุ่น สามารถติดกับผิวหนังได้ ทำให้แผลมีความชุ่มชื้น และสามารถป้องกันน้ำได้ ข้อเสียคือแผ่นปิดแผลชนิดนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถระบายน้ำเหลืองได้ จึงไม่เหมาะกับบาดแผลที่มีน้ำเหลืองไหลออกมาปริมาณมาก แต่เหมาะที่จะใช้ในการบาดแผลที่ไม่มีการติดเชื้อ เช่น บาดแผลที่เกิดจากของมีคม แผลถลอก หรือแผลเย็บ โดยวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อป้องกันน้ำและเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่บาดแผล

• พลาสเตอร์ไฮโดรคอลลอยด์
ประกอบด้วย hydrocolloid matrix มีข้อดีคือเป็นแผ่นปิดแผลที่ช่วยดูดน้ำเหลืองเข้าไปในแผ่นและกลายเป็นเจล เพื่อปกป้องบาดแผลจากเชื้อโรค สามารถปิดบาดแผลได้ประมาณ 3-5 วัน การเลือกใช้เหมาะสำหรับบาดแผลบริเวณที่เป็นพื้นราบ เช่น หน้าอก ท้อง แขน ขา โดยบาดแผลนั้นควรมีน้ำเหลืองไหลออกมาในปริมาณไม่มาก ข้อห้ามที่สำคัญสำหรับแผ่นปิดแผลประเภทนี้ คือ ห้ามใช้ในบาดแผลที่มีการติดเชื้อ


นอกจากนี้บางชนิดยังมีการเพิ่มอนุภาคของวาสลิน และมีลักษณะเป็นตาข่ายโปร่ง ส่งผลให้ไม่ติดแผล จึงไม่ทำให้เจ็บเวลาลอกออก และยังมีรูปแบบที่เติมซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียลงไปด้วย ทั้งนี้ห้ามใช้แผ่นปิดแผลที่มีส่วนประกอบของซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน หากมีประวัติแพ้ยาในกลุ่มซัลฟา


ในขณะที่บางผลิตภัณฑ์ก็มีการพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถใช้ในบาดแผลที่มีน้ำเหลืองไหลออกมาในปริมาณปานกลางถึงมากได้ ผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้จะประกอบด้วยวัสดุ 2 ชั้น ชั้นบนเป็น polyurethane film และชั้นล่างเป็น polyurethane matrix โดยจะดูดซับของเหลวและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วจากบาดแผล

• แผ่นปิดแผลที่มีส่วนประกอบของอัลจิเนต
จุดเด่นของแผ่นปิดแผลประเภทนี้ คือ สามารถดูดซับน้ำเหลืองได้ดีกว่าแผ่นไฮโดรคอลลอยด์ เหมาะกับบาดแผลที่มีน้ำเหลืองปานกลางถึงมาก แผ่นปิดแผลชนิดนี้ดึงออกจากบาดแผลได้ง่าย ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุปิดแผลทำจากอนุพันธ์ของสาหร่ายทะเล เมื่อดูดซับน้ำเหลืองจะเปลี่ยนแปลงสภาพกลายเป็นเจล

• แผ่นปิดแผลชนิดโฟม หรือไฮโดรเซลลูล่าร์
มีคุณสมบัติเด่นในการดูดซับน้ำเหลืองได้สูง ป้องกันน้ำและเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถแกะออกได้ง่าย ไม่ติดแผล มักใช้ในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ แผ่นปิดแผลชนิดนี้ยังสามารถดูดซับน้ำเหลืองได้ บางชนิดอาจมีการผสมซิลเวอร์ไว้ด้วย เพื่อช่วยกำจัดและป้องกันการติดเชื้อ

• เจลสำหรับแผลเรื้อรัง
ลักษณะเป็นเจลใส ประกอบด้วยน้ำและโพลีเมอร์ต่างๆ มีคุณสมบัติช่วยให้แผลอยู่ในสภาวะชุ่มชื้น มีฤทธิ์ในการดูดซับน้ำเหลืองได้ดี สามารถใช้ได้กับทั้งบาดแผลไม่ว่าจะตื้นหรือลึก แต่ทั้งนี้การใส่ลงไปในบาดแผลควรที่จะใช้ผ้าก็อซแห้งหรือแผ่นฟิล์มปิดทับด้านบนเจลอีกที





กิจกรรมที่ 5

2560 project 35 from ThitiEarng การอนุรักษ์สัตว์ป่า สัตว์ ป่า คือ สัตว์ ทุก ชนิด ไม่ ว่า สัตว์ บก สัตว์ น้ำ สัตว์ ปีก แมลง หรือ...