วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 5



วิธีการล้างแผลแบบถูกวิธี



 1. เมื่อมีเลือดออก
   เลือดเป็นสิ่งที่ช่วยทำความสะอาดแผลเบื้องต้น การมีเลือดออกจากแผลเล็กน้อยจึงถือเป็นสิ่งที่ดี


2. ล้างแผลให้สะอาด


          ด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อ หรือน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.9% สำหรับล้างแผลโดยตรง เพราะการล้างแผลด้วยน้ำเกลือจะไม่ทำให้รู้สึกแสบแผล อีกทั้งการล้างแผลด้วยน้ำเกลือยังช่วยชะล้างสิ่งสกปรกและเชื้อโรคออกจากแผลได้ ลดการติดเชื้อ ที่สำคัญยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นอีกต่างหาก


3. เลือกยาใส่แผลให้เหมาะสม
   

          แผลที่เสี่ยงติดเชื้อ หรือแผลเปิด เช่น แผลมีดบาด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกแทง แผลฉีกกระชาก และแผลตัดขาด อาจใช้ยาฆ่าเชื้อภายนอก (Topical Antiseptic) เช่น โพวิโดน-ไอโอดีน ทาแผลเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ


4. พันแผลด้วยพลาสเตอร์ยาหรือผ้าพันแผล
   

          การปิดแผลจะช่วยลดโอกาสที่เชื้อโรคจากภายนอกจะเข้าสู่บาดแผล โดยเฉพาะหากแผลนั้น ๆ มีโอกาสเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือรองเท้าโดยตรง ซึ่งการปิดแผลที่ดีก็ควรเปลี่ยนพลาสเตอร์หรือผ้าพันแผลทุกวัน รวมทั้งก่อนปิดแผลก็ควรล้างแผลและใส่ยารักษาแผลก่อนด้วยนะคะ


          อย่างไรก็ดี สำหรับแผลที่ค่อนข้างลึก ใหญ่ และบาดเจ็บอย่างรุนแรง หรือเป็นแผลบริเวณใกล้ดวงตา แผลเปิดกว้าง แผลเกิดจากของขึ้นสนิม หรือโดนสัตว์กัด เลือดไหลไม่หยุดยาวนานประมาณ 5-10 นาที หรือแม้แต่แผลเล็ก ๆ แต่มีอาการปวดแผล แผลบวมแดง มีน้ำหนอง หรือมีอาการไข้ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าบาดแผลอาจเกิดการอักเสบ และควรพาตัวเองไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นอีกครั้งด้วยนะคะ

ความจริงเกี่ยวกับการล้างแผลที่ถูกต้อง

   

  5 ความจริงเกี่ยวกับการล้างแผลดังนี้


1. ทำไมควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือ
   

          น้ำเกลือปราศจากเชื้อสำหรับล้างแผลโดยตรง อย่างน้ำเกลือ Saline Kare เป็นน้ำเกลือที่มีตัวยาโซเดียม คลอไรด์ 0.9% โดยความเข้มข้นของน้ำเกลือชนิดนี้ จะมีความสมดุลกับเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงไม่ทำให้รู้สึกแสบ อีกทั้งการล้างแผลด้วยน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.9% ยังสามารถชำระความสกปรกและเชื้อโรคออกจากแผลได้อย่างสะอาด ปราศจากการระคายเคือง ลดโอกาสติดเชื้อ และทำให้แผลหายเร็วขึ้นอย่างที่บอกไปในช่วงแรก

   

          ดังนั้นหากเคยไปล้างแผลที่โรงพยาบาลมาบ้าง ก็จะเห็นได้เลยว่าพยาบาลและแพทย์จะใช้น้ำเกลือล้างแผลให้เราตลอดยังไงล่ะคะ


2. ทำไมใช้น้ำเกลือล้างแผลถึงไม่แสบ
   

          ตัวยาโซเดียมคลอไรด์ 0.9% ที่มีอยู่ในน้ำเกลือ เป็นสารละลายที่มีความสมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย จึงไม่ทำให้รู้สึกแสบเมื่อล้างแผลด้วยน้ำเกลือ


3. น้ำเกลือต่างกับน้ำทะเลอย่างไร
   

          น้ำทะเลจะประกอบไปด้วยธาตุ และส่วนประกอบไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความเข้มข้นกว่าน้ำในเซลล์ร่างกาย จึงอาจทำลายความสมดุลของน้ำในเซลล์เนื้อเยื่อ เป็นเหตุให้รู้สึกแสบแผลเมื่อโดนน้ำทะเลได้

   

          ส่วนน้ำเกลือปราศจากเชื้อสำหรับล้างแผล มีส่วนประกอบที่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกายอยู่แล้ว จึงไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแผลนั่นเอง


4. ใช้น้ำประปาล้างแผลได้หรือไม่
   

          น้ำประปาเป็นสารละลาย Hypotonic มีความเข้มข้นต่ำกว่าน้ำในเซลล์ร่างกาย จึงอาจทำลายเซลล์เม็ดเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อสร้างใหม่ รบกวนการสมานแผล ทำให้รู้สึกแสบแผล และอาจทำให้แผลหายช้าลง


5. ใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลได้หรือไม่
   

          เชื่อไหมคะว่าเราอาจใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลแบบผิด ๆ มาทั้งชีวิต เพราะที่จริงแล้วแอลกอฮอล์เป็นยาฆ่าเชื้อเฉพาะที่ สำหรับเช็ดผิวหนังรอบแผลก่อนผ่าตัดหรือก่อนฉีดยาเท่านั้น เพื่อลดโอกาสที่เชื้อโรครอบปากแผลจะเข้าสู่แผลได้ นอกจากนี้เรายังไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลเปิดให้แสบฟรี ๆ อย่างยิ่ง เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดเนื้อตาย อาจรู้สึกระคายเคืองและแสบร้อนแผล และทำให้แผลหายช้า เห็นได้ชัดเลยว่า น้ำเกลือเป็นน้ำยาล้างแผลที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกข้อจริง ๆ แต่ทั้งนี้ก็ควรเลือกใช้น้ำเกลือที่ถูกวัตถุประสงค์ของการล้างแผลด้วยนะคะ โดยอาจเลือกใช้น้ำเกลือล้างแผลด้วยข้อสังเกตข้างล่างนี้





ควรเลือกน้ำเกลือแแบบไหนมาล้างแผล



น้ำเกลือล้างแผล

          น้ำเกลือล้างแผลมีขายอยู่หลายยี่ห้อพอสมควร หลายคนเลยเกิดคำถามว่า แล้วเราควรเลือกน้ำเกลือล้างแผลแบบไหนมาใช้ดีล่ะ ขออนุญาตตอบข้อข้องใจตรงนี้ชัด ๆ ว่า ควรเลือกซื้อน้ำเกลือล้างแผลชนิดที่ปราศจากเชื้อ เช็กว่ามีความเข้นข้นของตัวยาโซเดียม คลอไรด์ 0.9% ไหม รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ก็ควรมีฝาปิดมิดชิด ใช้งานสะดวก เก็บรักษาได้ง่าย ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนในน้ำเกลือ อย่างน้ำเกลือซาไลน์แคร์ (Saline Kare) เป็นต้น ซึ่งมีข้อแตกต่างจากน้ำเกลือล้างแผลอื่น ๆ ตามนี้
1. น้ำเกลือล้างแผลซาไลน์แคร์ไม่ทำให้แสบแผล
   

          นอกจากจะช่วยทำความสะอาดแผลและลดการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว น้ำเกลือซาไลน์แคร์ยังมีความเข้มข้นของตัวยาโซเดียม คลอไรด์อยู่ที่ 0.9% ซึ่งมีความสมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย จึงไม่ทำให้รู้สึกแสบแผลเลยสักนิด


2. น้ำเกลือซาไลน์ เป็นน้ำเกลือปราศจากเชื้อ
   

          น้ำเกลือซาไลน์แคร์ เป็นน้ำเกลือปราศจากเชื้อที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ดังนั้นเมื่อเปิดขวดใช้แล้วควรใช้น้ำเกลือให้หมดภายใน 30 วัน


3. บรรจุภัณฑ์ดีไซน์มาตอบโจทย์
   

          ผลิตภัณฑ์ซาไลน์แคร์อยู่ในรูปขวดปลายแหลม มีระบบการเปิด-ปิดฝาที่ป้องกันการปนเปื้อนระหว่างการใช้ ทำให้ปลอดภัยต่อเชื้อโรค อีกทั้งขวดปลายแหลมยังช่วยให้มีแรงฉีดสำหรับชะล้างสิ่งสกปรกออกจากบาดแผลได้สะอาด โดยไม่ต้องใช้ผ้าก็อซหรือสำลีถูบริเวณแผลให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและอาการบาดเจ็บ เช่น ปากแผลเปิดกว้างมากขึ้น เป็นต้น


4. ปริมาณน้ำเกลือพอเหมาะกับการใช้งาน
   

          ขวดน้ำเกลือซาไลน์แคร์มีอยู่ขนาดเดียว คือ น้ำเกลือล้างแผลซาไลน์แคร์ขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร ด้วยเหตุผลที่ว่า น้ำยาล้างแผลควรฉีดล้างด้วยปริมาณน้ำเกลือพอสมควร ให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากบาดแผลให้หมด และเพื่อให้น้ำเกลือพอดีกับการล้างแผลมากที่สุด ไม่ต้องเหลือน้ำเกลือทิ้งไปให้น่าเสียดาย


5. หาซื้อง่าย ใช้สะดวก
   

          น้ำเกลือซาไลน์แคร์สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าสะดวกซื้อ (7-Eleven) และร้านขายยาชั้นนำทั่วไป

    










การปฐมพยาบาล

ประเภทของบาดแผล
บาดแผล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
• บาดแผลสะอาด หมายถึง บาดแผลที่เกิดขึ้นแต่ไม่มีการติดเชื้อโรค ลักษณะเนื้อเยื่อบริเวณแผลจะมีสีชมพูอมแดง ไม่พบลักษณะของการอักเสบบวมแดง

• บาดแผลติดเชื้อ หมายถึง บาดแผลที่มีการติดเชื้อโรคร่วมด้วย ลักษณะแผลจะแสดงถึงการอักเสบ ได้แก่ อาการปวด บวม แดง ร้อน ภายหลังจะพบหนองบริเวณบาดแผล

คุณสมบัติของแผ่นปิดบาดแผลที่ดี
ลักษณะของแผ่นปิดบาดแผลที่ดีควรป้องกันบาดแผลจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม สามารถดูดซึมน้ำเหลืองที่ออกมาจากบาดแผลได้ดี ป้องกันการเสียความร้อนและความชื้นจากบาดแผล เพื่อทำให้เกิดการสมานแผล และแผ่นปิดบาดแผลที่ดีไม่ควรเหนียวติดบาดแผลง่าย ตัวอย่างแผ่นปิดแผลชนิดต่างๆ เช่น
• ผ้าก็อซปิดแผลแบบธรรมดา
คุณสมบัติของผ้าก็อซจะทำหน้าที่ดูดซับน้ำเหลืองจากบาดแผล ถ้าหากบาดแผลนั้นมีน้ำเหลืองไหลออกมามาก อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าก็อซบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อด้อยของการใช้ผ้าก็อซในการปิดแผล นอกจากนั้นผ้าก็อซอาจจะติดแน่นกับแผล ส่งผลให้เจ็บเวลาดึงผ้าก็อซออกและยากแก่การทำแผลในครั้งถัดไป

Medicate paraffin gauze
เป็นผ้าก็อซสังเคราะห์ที่มีการเพิ่มการเคลือบพาราฟิน โดยสามารถดูดซับของเหลวได้ดี จุดเด่นที่สำคัญ คือ ผ้าก็อซชนิดนี้ไม่ติดกับแผล ทำให้ลดปัญหาเมื่อต้องเปลี่ยนแผ่นปิดแผลบางชนิดอาจมีการผสมตัวยา antiseptics ลงไปด้วย เพื่อช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อโรค และป้องกันการติดเชื้อ ข้อด้อยของแผ่นปิดแผลประเภทนี้คือไม่เหมาะสมในกรณีที่บาดแผลเปิดเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากรูตาข่ายของแผ่นปิดแผลค่อนข้างใหญ่

• พลาสเตอร์ฟิล์มใส
ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ยืดหยุ่น สามารถติดกับผิวหนังได้ ทำให้แผลมีความชุ่มชื้น และสามารถป้องกันน้ำได้ ข้อเสียคือแผ่นปิดแผลชนิดนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถระบายน้ำเหลืองได้ จึงไม่เหมาะกับบาดแผลที่มีน้ำเหลืองไหลออกมาปริมาณมาก แต่เหมาะที่จะใช้ในการบาดแผลที่ไม่มีการติดเชื้อ เช่น บาดแผลที่เกิดจากของมีคม แผลถลอก หรือแผลเย็บ โดยวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อป้องกันน้ำและเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่บาดแผล

• พลาสเตอร์ไฮโดรคอลลอยด์
ประกอบด้วย hydrocolloid matrix มีข้อดีคือเป็นแผ่นปิดแผลที่ช่วยดูดน้ำเหลืองเข้าไปในแผ่นและกลายเป็นเจล เพื่อปกป้องบาดแผลจากเชื้อโรค สามารถปิดบาดแผลได้ประมาณ 3-5 วัน การเลือกใช้เหมาะสำหรับบาดแผลบริเวณที่เป็นพื้นราบ เช่น หน้าอก ท้อง แขน ขา โดยบาดแผลนั้นควรมีน้ำเหลืองไหลออกมาในปริมาณไม่มาก ข้อห้ามที่สำคัญสำหรับแผ่นปิดแผลประเภทนี้ คือ ห้ามใช้ในบาดแผลที่มีการติดเชื้อ


นอกจากนี้บางชนิดยังมีการเพิ่มอนุภาคของวาสลิน และมีลักษณะเป็นตาข่ายโปร่ง ส่งผลให้ไม่ติดแผล จึงไม่ทำให้เจ็บเวลาลอกออก และยังมีรูปแบบที่เติมซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียลงไปด้วย ทั้งนี้ห้ามใช้แผ่นปิดแผลที่มีส่วนประกอบของซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน หากมีประวัติแพ้ยาในกลุ่มซัลฟา


ในขณะที่บางผลิตภัณฑ์ก็มีการพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถใช้ในบาดแผลที่มีน้ำเหลืองไหลออกมาในปริมาณปานกลางถึงมากได้ ผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้จะประกอบด้วยวัสดุ 2 ชั้น ชั้นบนเป็น polyurethane film และชั้นล่างเป็น polyurethane matrix โดยจะดูดซับของเหลวและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วจากบาดแผล

• แผ่นปิดแผลที่มีส่วนประกอบของอัลจิเนต
จุดเด่นของแผ่นปิดแผลประเภทนี้ คือ สามารถดูดซับน้ำเหลืองได้ดีกว่าแผ่นไฮโดรคอลลอยด์ เหมาะกับบาดแผลที่มีน้ำเหลืองปานกลางถึงมาก แผ่นปิดแผลชนิดนี้ดึงออกจากบาดแผลได้ง่าย ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุปิดแผลทำจากอนุพันธ์ของสาหร่ายทะเล เมื่อดูดซับน้ำเหลืองจะเปลี่ยนแปลงสภาพกลายเป็นเจล

• แผ่นปิดแผลชนิดโฟม หรือไฮโดรเซลลูล่าร์
มีคุณสมบัติเด่นในการดูดซับน้ำเหลืองได้สูง ป้องกันน้ำและเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถแกะออกได้ง่าย ไม่ติดแผล มักใช้ในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ แผ่นปิดแผลชนิดนี้ยังสามารถดูดซับน้ำเหลืองได้ บางชนิดอาจมีการผสมซิลเวอร์ไว้ด้วย เพื่อช่วยกำจัดและป้องกันการติดเชื้อ

• เจลสำหรับแผลเรื้อรัง
ลักษณะเป็นเจลใส ประกอบด้วยน้ำและโพลีเมอร์ต่างๆ มีคุณสมบัติช่วยให้แผลอยู่ในสภาวะชุ่มชื้น มีฤทธิ์ในการดูดซับน้ำเหลืองได้ดี สามารถใช้ได้กับทั้งบาดแผลไม่ว่าจะตื้นหรือลึก แต่ทั้งนี้การใส่ลงไปในบาดแผลควรที่จะใช้ผ้าก็อซแห้งหรือแผ่นฟิล์มปิดทับด้านบนเจลอีกที





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่ 5

2560 project 35 from ThitiEarng การอนุรักษ์สัตว์ป่า สัตว์ ป่า คือ สัตว์ ทุก ชนิด ไม่ ว่า สัตว์ บก สัตว์ น้ำ สัตว์ ปีก แมลง หรือ...